Skip to content
วิทยาศาสตร์
Niagen NR
สารอาหาร
ลงทะเบียนชุด Kit
เกี่ยวกับเรา
ร้าน
Login
Bag
0
ไทย
Menu
Bag
0
คำถามที่พบบ่อย
หาคำตอบอยู่ใช่ไหม? เรามีคำตอบที่คุณต้องการ
เกี่ยวกับ LIVMORE
คุณภาพและความปลอดภัย
วิทยาศาสตร์
อะไรคือ Longivity?
การสั่งซื้อและการจัดส่ง
DNA Test Kit
บัญชีและการสมัครสมาชิก
อะไรคือ Longivity?
อะไรคือการแก่ชรา?
Plus
การแก่ชราสามารถนิยามได้ว่า ผลกระทบจากการสะสมความเสียหายของโมเลกุลและเซลล์หลายอย่างเมื่อเวลาผ่านไป นักวิทยาศาสตร์ศึกษาว่าต้นตอที่ทำให้เซลล์แก่คืออะไร จะได้หาวิธีไปหยุดยั้ง ชะลอมัน จนปัจจุบันเจอแล้วว่า ต้นตอที่ทำให้เซลล์แก่มีอยู่ 14 ประการ หรือที่เรียกว่า 14 Hallmarks of Cellular Aging ปัจจัยเหล่านี้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมของเรา 10% แต่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของเรามีผลถึง 90% ปัจจัยหลักแต่ละอย่างในที่สุดจะนำไปสู่โรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ การแก้ไขปัจจัยหลักเหล่านี้จะช่วยชะลอการแก่ชราและป้องกันโรค
เราจะสามารถดูแลเซลล์ให้ไม่แก่ได้อย่างไร
Plus
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาว่าต้นตอที่ทำให้เซลล์แก่คืออะไร จะได้หาวิธีไปหยุดยั้ง ชะลอมัน ถ้าให้สรุปง่ายๆ ต้องดูแล 2 อย่าง คือ DNA และ Mitochondria DNA คือ คู่มือในการทำงานของเซลล์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของทุกเซลล์ เมื่ออายุมากขึ้น 1) คู่มืออาจถูกทำลายได้ (DNA เสียหาย) ซึ่งเกิดจากสารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) เราเลยต้องกิน Antioxidants หรือสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไป เมื่ออายุมากขึ้น 2) DNA ที่เสียหาย ส่งผลให้เซลล์สร้างโปรตีนที่ผิดปกติ เอนไซม์ใช้งานไม่ได้ เป็นขยะในเซลล์ กินทั้งพลังงานและรบกวนการทำงานของเซลล์ จึงต้อง Fasting เพื่อกระตุ้นเกิดกระบวนการ Autophagy ซึ่งคือกำจัดขยะภายในเซลล์ 3) ถ้า DNA เสียหายหนักมากๆ จะกลายเป็นเซลล์แก่ที่ Toxic เรียกว่า Senescent Cell / Zombie Cell สามารถปล่อยสารอักเสบและทำให้เซลล์อื่นที่สุขภาพดี DNA เสียหายไปด้วย เลยต้องกิน Phytochemicals 4) DNA อาจไม่เสียหาย แต่ สวิตช์เปิด-ปิดที่ควบคุม DNA อยู่ผิดที่ ก็ทำให้เซลล์ทำงานผิดได้ สวิตช์ที่ควบคุม DNA = โมเลกุล Methyl เราจึงต้องกินสารอาหารที่มี Methyl เพื่อส่งผ่านสวิตช์ที่ถูกต้องไป RESET การทำงานของ DNA สารอาหาร เช่น Methyl Folate, Methionine, Vitamin B12 เมื่อกระบวนการที่สวิตช์ไปแปะที่ DNA เรียกว่า DNA Methylation Mitochondria = แบตเตอรี่ของเซลล์ 5) เราดูแล Mitochondria ด้วยการเพิ่มจำนวน Mitochondria ทำหน้าที่เปลี่ยน อาหารที่เรากินและออกซิเจนในอากาศที่เราหายใจ เป็นพลังงานที่เซลล์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ทุกครั้งที่ Mitochondria สร้างพลังงานให้เรา Mitochondria จะสุขภาพแย่ลง เหมือน แบตเตอรี่เสื่อม เพราะมี Toxic เป็นของแถม เราจึงต้องช่วยเซลล์ให้สร้าง Mitochondria ใหม่ๆเพิ่ม ด้วยการออกกำลังกาย หรือกินสารอาหารที่กระตุ้นการสร้างใหม่ของ Mitochondria หรือกิน Antioxidants เฉพาะที่ชะลอการเสื่อมของ Mitochondria เช่น Astaxanthin CoQ10 6) เพิ่มประสิทธิภาพของ Mitochondria (NAD+) อีกอย่างที่คนไม่รู้คือ Mitochondria จะสร้างพลังงานได้ ต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ NAD+ NAD+ ช่วยให้เอนไซม์ที่จำเป็นในกระบวนการสร้างพลังงานทำงานได้ดี อายุ 30+ เราเหลือ NAD+ 30% อายุ 50+ เราเหลือ NAD+ 10% เราถึงเหนื่อยง่ายขึ้น แม้ว่าใจจะ Young at Heart แค่ไหน แต่ร่างกายพลังงานไม่พอ ทำให้เราทำอะไรได้ไม่เหมือนเดิม เราถึงต้องกินวัตถุที่ช่วยในการเพิ่ม NAD+ ให้เซลล์ อย่างเช่น Nicotinamide Riboside (NR)
Healthspan ของคนเราจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
Plus
การมี Healthspan ที่ดีหรือมีสุขภาพดีเริ่มต้นที่ เซลล์ ทุกโรคที่เราเป็นเกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์เพียง 1 เซลล์ เช่น มะเร็ง เซลล์ 1 เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ เบาหวาน เกิดจากเซลล์หยุดรับสัญญาณจากฮอร์โมนอินซูลินทำให้ไม่ดึงน้ำตาลออกจากเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Stroke) เกิดจากเซลล์ขาดออกซิเจนทำให้ขาดพลังงาน และตาย ถ้าเซลล์ในอวัยวะไหนทำงานผิดพลาด จะทำให้เกิดโรค ดังนั้นการดูแลเซลล์ให้ทำงานได้ปกติ จึงเป็นกุญแจที่ทำให้เราไม่เป็นโรคและเพิ่ม Healthspan
การที่เราไม่เป็นโรคและเพิ่ม Healthspan ให้กับตัวเองได้คือการดูแลเซลล์ให้ดี แล้วอย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเซลล์ของเรายังทำงานเป็นปกติอยู่หรือเปล่า วัดว่าเซลล์ทำงานได้ดีแค่ไหนยังไง
Plus
อายุ DNA ที่อยู่ในเซลล์ และอายุทางชีวภาพหรือขอเรียกง่ายๆว่า อายุร่างกาย เป็นสิ่งที่บอกว่าร่างกายเราดีแค่ไหน โดยเราสามารถตรวจได้เรียกว่าการตรวจ Epigenetics ตรวจแต่ละครั้ง อายุไม่เท่ากันขึ้นกับ lifestyle ถ้าเราดูแลเซลล์ดี อายุก็จะลดลง DNA = คู่มือทำงานของเซลล์ Epigenetics = สวิตช์เปิด-ปิด DNA ตอนทีเราเด็กๆ ยีนที่ควรเปิด-เปิด ยีนที่ควรปิด-ปิด เซลล์เลยทำงานปกติ ไม่เป็นโรค พอเราแก่ขึ้น ยีนที่ควรปิดดันเปิด ยีนที่ควรเปิดดันปิด เซลล์ทำงานไม่ปกติ เป็นโรค การวัด Epigenetics บอกได้ว่า DNA เราทำงานได้เหมือนคนอายุเท่าไร ถ้าอายุ DNA < อายุร่างกาย = เด็กกว่าวัย สุขภาพดี ต่างกับการตรวจ Genetics ตรวจอย่างไรก็เหมือนเดิม
คนอายุเท่ากัน แต่ยีนเรามีโอกาสแก่กว่าคนอื่นด้วยเหรอ?
Plus
เป็นไปได้ครับเพราะเซลล์ของเราแต่ละคนจะมียีนแก่ไม่เท่ากัน สมมติเราได้รับ DNA Switch จากการกินอาหารหรืออาหารเสริม DNA Switch จะถูกส่งต่อกันเป็นทอดๆ ผ่านเหมือนพัสดุที่ส่งต่อผ่านเมสเซนเจอร์จนถึง DNA เพื่อใช้ในการเปิดหรือปิดยีนที่ต้องการ การส่งต่อกันของ DNA Switch ต้องอาศัยเอนไซม์เป็นตัวช่วย แล้วประสิทธิภาพเอนไซม์แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง เช่น กรณี MTHFR สมมติ เรากินผักเยอะ / กิน Folic Acid เพราะหวังว่าจะช่วยส่งสวิตช์ได้ แต่ปรากฎกว่าเอนไซม์ที่เปลี่ยน Folic Acid เป็น Methylfolate มีปัญหา กิน Folic Acid เยอะแค่ไหน ก็เอาไปใช้ไม่ได้ แถมเป็น Toxic ต่อร่างกายด้วย ดังนั้นสารที่เหมาะกันคนกลุ่มนี้มากกว่าคือต้องกิน Methyl Folate ซึ่งองค์ความรู้ในปัจจุบันบอกเรามีประมาณ 5 ยีน ถ้ามียีนใดยีนหนึ่งผิดปกติจะส่งผลต่อการเปิดปิดของดีเอ็นเอในเซลล์ การตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการส่งผ่านสวิตช์ไปที่ DNA เลยเป็นประโยชน์มาก ที่จะทำให้เราเลือก สารอาหารที่เหมาะสมกับพันธุกรรมเราจริงๆ ชุดตรวจยีนของ LIVMORE สามารถทำเองง่ายๆ ได้ที่บ้านเลยนะคะ ใช้เพียงแค่น้ำลาย แล้วส่งผลกลับมาทาง LIVMORE เพื่อนส่งไปยังแล็บที่สหรัฐอเมริกา และทราบผลภายใน 1 เดือน ประโยชน์ของการตรวจยีนคือเพื่อจะได้เลือกเซ็ตสารอาหารที่เหมาะกับพันธุกรรม ช่วยให้เซลล์ทำงานได้ดี และช่วยลดอายุ DNA ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
LIVMORE ลดอายุ DNA ได้จริงเหรอ?
Plus
LIVMORE อ้างอิงผลจาก clinical studies ที่เมืองนอก และformulate lสูตรโดยดร. ต้นสมบูรณ์ ปีนี้คุณก้องอายุ 56 ปี แต่พอทาน LIVMORE ภายใน 2 เดือน แล้ววัดอายุชีวภาพคุณก้องลดลงไปอีก 3 ปีค่ะ ส่วนคุณนิกกี้เอง ซึ่ง Subscription ใน Plan Ultimate ของ LIVMORE เหมือนกัน ก่อนหน้านี้คุณนิกกี้ไม่เคยวิ่งรอบสวนลุมได้ ตอนนี้วิ่งได้ 10 กิโลโดยไม่หยุด และอายุชีวภาพลดลง 2 ปีค่ะ
Genetic กับ Epigentic แตกต่างกันอย่างไร
Plus
พันธุกรรม (Genetic) และ เอพิเจเนติกส์ (Epigenetic) เป็นสองคำที่มักถูกนำมาเปรียบเทียบกันบ่อยครั้ง ทั้งสองเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางชีววิทยาจากรุ่นสู่รุ่น แต่มีกลไกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง พันธุกรรม (Genetic) ความหมาย: คือการถ่ายทอดลักษณะทางชีววิทยาจากพ่อแม่สู่ลูกผ่านทางดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สีตา สีผม รูปร่าง กลไก: การเปลี่ยนแปลงในลำดับเบสของดีเอ็นเอ (mutation) จะส่งผลต่อการสร้างโปรตีนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ความคงที่: การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมักจะถาวรและถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ เอพิเจเนติกส์ (Epigenetic) ความหมาย: คือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีน โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสของดีเอ็นเอ กลไก: การเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติกส์เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม ความเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของยีนโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดีเอ็นเอเอง ตัวอย่างเช่น การมีกลุ่มเมธิล (methyl group) มาเกาะที่ดีเอ็นเอ จะทำให้ยีนนั้นทำงานได้น้อยลงหรือหยุดทำงานไปเลย ความยืดหยุ่น: การเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติกส์มักจะไม่ถาวร สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต และอาจส่งผลต่อรุ่นต่อไปได้ในบางกรณี